The ASSURE Model
วิดิโอ บรรยายASSURE Model
สื่อการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการสื่อสาร (Communication Process) ที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระจากฝ่ายส่งไปยังฝ่ายรับ และการสื่อสารที่ดีนั้นควรจะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยสื่อที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารกันได้ใน
2 ทิศทางด้วย เช่น โทรศัพท์
E-mail การประชุม การอภิปราย และการบรรยาย เป็นต้น แต่ถ้าสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันไม่อำนวยให้โต้ตอบกันได้
ก็จะเกิดการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่เรียกว่าการ สื่อสารแบบทางเดียว
(One-way communication) ซึ่งสื่อที่ใช้ในการติดต่อกันได้แก่
หนังสือพิมพ์
แผ่นพับ โปสเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ และการบรรยายเป็นต้น
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
การจำแนกสื่อการเรียนการสอนสามารถจำแนกโดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ กัน ซึ่งจะได้ประเภทของสื่อการเรียนการสอนแตกต่างกันไป
ในที่นี้จะจำแนกโดยยึดวัตถุประสงค์การเรียนการสอน และวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนที่ใช้ในระดับอุดมศึกษาเป็นเกณฑ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ |
วิธีสอน/เทคนิคการสอน
|
สื่อการเรียนการสอน
|
พุทธิพิสัย
(Cognitive Domain)
|
การศึกษาด้วยตนเอง
การอภิปรายกลุ่ม
การบรรยาย
|
เอกสาร/ตำรา/สิ่งพิมพ์
ของจริง หุ่นจำลอง
สื่อโปรแกรม เทป วิทยุ สไลด์ แผ่นใส สไลด์เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อประสม
คอมพิวเตอร์ :
E-mail, CAI
|
จิตพิสัย
(Affective Domain)
|
การฝึกปฏิบัติ
การวิจัย
การอภิปรายกลุ่ม
การศึกษานอกสถานที่
|
คู่มือฝึกปฏิบัติ
เอกสาร/ตำรา/สิ่งพิมพ์
ของจริง หุ่นจำลอง
สถานที่ศึกษาดูงาน และฝึกงาน สื่อประสม
|
ทักษะพิสัย
(Psychomotor Domain)
|
การสาธิต
สถานการณ์จำลอง
การปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
การฝึกงาน
|
อุปกรณ์ประกอบการสาธิต
ของจิรง หุ่นจำลอง
คู่มือฝึกปฏิบัติ
อุปกรณ์และเครื่องมือปฏิบัติการ
สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน
สื่อประสม
คอมพิวเตอร์ :
Simulation,
CAI
|
จากสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง
ๆ ที่ใช้ในเทคนิคการสอนแต่ละเทคนิคเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอนในแต่ละด้านข้างต้น สามารถสรุปสื่อการเรียนการสอนได้เป็น
4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี
สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์
ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้
Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร
(Electronic mail : E-mail) และการใช้ WWW
การตัดสินใจเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนมีมากมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว สื่อแต่ละชนิดจะมีข้อเด่นข้อด้อยและความเหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละวิธีแตกต่างกันไป ผู้สอนจึงจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม
เพื่อให้มีประสิทธิภาพการเรียนการสอนสูงสุด ซึ่งมีแนวทางกว้าง ๆ
การวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอน
Heinich,
Molenda and Russell (1985) ได้เสนอโมเดลการวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอน เรียกว่า ASSURE
Model ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน รายละเอียดของโมเดลมีดังนี้
A : Analyze
Learner Characteristic
S
: Stat Objective
S
: Select, Modify or Design Materials
U
: Utilize Materials
R
: Require Learner Response
E
: Evaluation
A : Analyze Learner Characteristicวิเคราะห์ผู้เรียน
การวิเคราะห์ผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน
2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง
|
การเรียนการสอน แต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง
3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยจะเน้นวัตถุประสงค์ด้านใดมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่สอนแต่ละครั้งไป
|
1. การเลือกสื่อการเรียนการสอน
ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน
ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ คือ ลักษณะผู้เรียน วัตถุประสงค์การเรียนการสอน เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน และสภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด
2. การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน
ในกรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน
ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้
3. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้
หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ การออกแบบก็ต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ : ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้
เจตคติและทักษะใด
ผู้เรียน : มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้หรือไม่
ราคา : มีงบประมาณในการผลิตมากน้อยเพียงใด
ฝ่ายเทคนิค : มีหรือไม่ในการผลิต
อุปกรณ์ :
มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตหรือไม่
เวลา :
มีเวลาเพียงพอในการผลิตหรือไม่
|
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน
มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1. ทดลองใช้
ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบและทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่
ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน คุณลักษณะของสื่อ วิธีการนำเสนอสื่อ
2. เตรียมสภาพแวดล้อม
การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่
สิ่งอำนวยความสะดวก
แสง การระบายอากาศ และอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
3. เตรียมผู้เรียน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น
จะต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น โดย การแนะนำสิ่งที่จะนำเสนอ อาจจะเป็นเรื่องย่อ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น การเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการฟังหรือดูสิ่งที่ผู้สอนนำเสนออันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีได้
4. การนำเสนอ
ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น จะต้องใช้เทคนิคการนำเสนอที่เรียกว่า AV Showmanship ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสมที่ติดเป็นนิสัย เช่น หักนิ้ว บิดข้อมือ กดปากกา พูดเสียง เอ้อ………อ้า…… เพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจท่าทางเหล่านี้แทน
4.2 ท่าทางการยืน ต้องยืนหันหน้าให้ผู้เรียน ถ้ายืนเฉียงก็ต้องหันหน้าหาผู้เรียนไม่ควรหันข้างหรือหันหลังให้ผู้เรียน
4.3 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง
4.4
ประเมินความสนใจของผู้เรียน
โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้น ซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
4.5 อย่าใช้เวลาเตรียมสื่อนานเกินไป จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4.6 นำเสนอให้ถูกวิธีตามที่ได้มีการทดลองใช้มาก่อนแล้ว
|
การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด และในขณะเดียวกันผู้สอนก็ต้องมีการเสริมแรงไปพร้อม
ๆ กันด้วย เช่น หลังจากการนำเสนอสื่อแล้ว อาจให้ผู้เรียนร่วมอภิปราย ทำแบบฝึกหัด ทำบทเรียนโปรแกรมหรือกิจกรรมอื่น
ๆ ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับวิธีการสอนและสื่อการสอนที่ใช้ในแต่ละครั้ง
|
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด สิ่งที่ต้องประเมินได้แก่ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน
จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ
ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อควรคิดในการใช้สื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนสูงสุด จึงขอเสนอข้อเตือนใจสำหรับผู้สอนให้ระลึกถึงปัจจัยต่าง
ๆ ในการใช้สื่อการเรียนการสอนดังนี้
1.
ไม่มีสื่อการเรียนการสอนใดที่เหมาะสมกับทุกจุดประสงค์การเรียนการสอน
2.
ควรใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนดไว้
3.
ผู้ใช้สื่อการเยนการสอนจะต้องคุ้นเคยกับเนื้อหาและวิธีการนำเสนอของสื่อชนิดนั้น
ๆ
4.
สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับวิธีสอนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
5.
สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับสมรรถภาพ และวิธีการเรียนของผู้เรียน
6.
สื่อการเรียนการสอนจะต้องให้ความเป็นรูปธรรม
7.
ควรจัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับสื่อการเรียนการสอนที่ใช้
8.
ควรทดลองใช้สื่อการเรียนการสอนก่อนใช้ และสื่อนั้นควรมีคู่มืออธิบายการใช้ที่ชัดเจน
Internet กับการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และกระแสโลกาภิวัฒน์ ต่างส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและสังคมโลก เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก
ดังนั้นทุกคนในสังคมต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดจากผลของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ในสังคมเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในสังคมได้อย่างปกติสุข สถาบันอุดมศึกษา เป็นหน่วยหนึ่งที่ต้องกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่สังคม
เนื่องจากคนในสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเป็นคนที่พร้อมจะอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้
มุ่งพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ และรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
จึงควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ (วิชัย, 2539)
1. ทิศทางการจัดการศึกษาจะต้องมีความชัดเจนต่อลักษณะสังคมในอนาคต จะต้องสร้างจิตสำนึกให้บัณฑิตตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของการศึกษาว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม
เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพและศักยภาพ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องส่งเสริมความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ
กระตุ้นให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มคุณภาพและประกันคุณภาพในการผลิตบัณฑิต
2. ลักษณะการเรียนรู้ของบุคคลในสังคมสารสนเทศจะเปิดกว้าง การออกแบบระบบการสอนจะต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ให้แก่ผู้เรียน การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการคิดเชิงพัฒนา
เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การจัดการเรียนการสอนควรใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน
การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้โดยนำเครือข่ายการสื่อสารมาใช้
3. บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และเจตคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดหลักสูตรและการสอน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความรู้และทักษะจากเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถช่วยให้การวางแผนหลักสูตร
การออกแบบระบบการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีวิสัยทัศน์ใหม่
มีโลกทัศน์และมุมมองที่กว้างไกลและลึกซึ้ง มีความตระหนักในความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานการผลิตบัณฑิต
รวมถึงการจัดการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพด้วย
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีนโยบายที่ชัดเจนในด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน
ให้เป็นไปตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อร่วมมือกันพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือมีความสามารถทางด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
นอกจากนี้มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบัณฑิตให้เป็นคนที่สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป็นคนที่สามารถคิดวิเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์ในวิชาชีพของตนเอง มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ
เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เป็นสากล ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่
8 (พ.ศ. 2540-2544) ของทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาระบบเครือข่าย
Intranet เพื่อให้สามารถนำมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์
ปัจจุบันระบบเครือข่าย Intranet ของมหาวิทยาลัยสามารถเชื่อมต่อทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว
ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดการอบรมผู้แทนของทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ระบบเครือข่าย
KKU Net ได้เต็มประสิทธิภาพ เนื้อหาส่วนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอแนวทางการนำระบบเครือข่ายดังกล่าวมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เพื่อการใช้ประโยชน์จากระบบเครือข่ายให้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ากับการลงทุนทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
Internet
กับการสื่อสารในการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา จำเป็นต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกันทั้งผู้เรียนและผู้สอน
เนื่องจากการใช้เวลาในห้องเรียนปกติในสภาพปัจจุบัน หมดไปกับการบรรยายเนื้อหาวิชา นักศึกษาและอาจารย์ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเต็มที่
เช่นการซักถามปัญหาในการเรียนการสอน การเรียนรู้เนื้อหาในประเด็นที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ
หรือ การส่งงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายในกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษากับอาจารย์สามารถทำให้ตลอดเวลา
โดยเฉพาะนอกเวลาเรียนในชั้นเรียนปกติ จึงควรพิจารณาแนวทางการใช้ Internet เพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีบริการใน 3 ลักษณะ คือ
·
การใช้ Email เพื่อการติดต่อรายบุคคล
·
การใช้ Listservers เพื่อการติดต่อเป็นกลุ่ม
·
การใช้
Cyber board หรือ การสร้าง Conferencing Space
การใช้จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Mail : Email)
การใช้ Email ในการเรียนการสอน เป็นการสร้างโอกาสในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันให้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วยทั้งนักศึกษาและอาจารย์ การติดต่อสื่อสารกันเป็นรายบุคคลนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ Email ในการติดต่อสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สามารถนำมาใช้สำหรับการสอบถามประเด็นปัญหาในการเรียน การรับ-ส่งงานที่มอบหมายเช่น
รายงาน การบ้าน โดยอาจารย์แจ้งงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทุกคนทราบทาง Email เมื่อนักศึกษาทำรายงานโดยพิมพ์เป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์เสร็จ ก็ส่งทาง
Email ถึงอาจารย์ โดยการ Attach แฟ้มงานไปกับ
Email เมื่ออาจารย์ได้รับงานของนักศึกษาก็เปิดอ่านทางจอภาพเพื่อตรวจงานให้นักศึกษา
อาจารย์สามารถส่งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงานให้นักศึกษาได้ โดยอาจจะสรุปประเด็นที่สำคัญแล้วส่งเป็น
Email กลับไปถึงนักศึกษา หรือจะพิมพ์ข้อเสนอแนะลงในเอกสารของนักศึกษาแล้ว
Attach แฟ้มงานนั้นกลับไปให้นักศึกษาก็ได้
การใช้ Listservers เพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นกลุ่ม
การติดต่อสื่อสารที่อาจารย์และนักศึกษาต้องการแจ้งให้ทุกคนในกลุ่มที่เรียนร่วมกันทราบ
เช่นการเสนอแนวคิด ความคิดเห็น และประเด็นปัญหาที่ต้องการอภิปรายร่วมกัน ควรใช้การสร้าง
กลุ่ม
email หรือ Listservers เพื่อส่งข้อความครั้งเดียวก็จะไปถึงนักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้น
กลุ่มนั้นได้ทันที เพราะเป็นการประหยัดเวลาและสะดวกมากกว่าการส่ง
Email ที่ติดต่อเป็นรายบุคคล การสร้างกลุ่ม Email นี้สามารถกำหนดตามรายวิชาและกลุ่มผู้เรียน เช่น
214420S01@list-ed.kku.ac.th สำหรับรหัสวิชา 214420 กลุ่ม 01 สังกัดคณะศึกษาศาสตร์
312113S07@list-sc.kku.ac.th สำหรับรหัสวิชา 312113 กลุ่ม 07 สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
415110S12@list-hu.kku.ac.th สำหรับรหัสวิชา 415110 กลุ่ม 12 สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ ฯ
จากตัวอย่างการสร้างกลุ่ม Email นี้ สามารถให้ระบบสร้างให้ทันทีโดยอัตโนมัติ
เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนรายวิชานั้น
โดยเชื่อมโยงโปรแกรมการสร้าง Listservers กับระบบการลงทะเบียนของสำนักทะเบียนและประมวลผล วิธีการสร้าง
Listservers โดยโปรแกรมนี้ จะช่วยลดปัญหาการสร้างได้มาก
นักศึกษาลงทะเบียนกี่รายวิชาก็จะเป็นสมาชิกของกลุ่ม Email ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น
ๆ เมื่อนักศึกษาเพิ่มหรือถอนรายวิชานั้น
ก็จะเพิ่มหรือถอนชื่อออกจากกลุ่ม Email ของรายวิชานั้นทันที อาจารย์ผู้สอนไม่ต้องสร้างเองเพียงแต่ทราบว่า
กลุ่ม Email ในรายวิชาและกลุ่มของตัวเองคืออะไร และจะใช้ประโยชน์ในลักษณะใดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้สูงสุด
ตัวอย่างการใช้ระบบนี้แล้วคือที่
West Virginia Wesleyan College's Computing Services Dept. (Petitto,
1997) ผลการประเมินการใช้ระบบนี้พบว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาเห็นว่า
ระบบนี้มีประโยชน์มากในกิจกรรมการเรียนการสอน
การใช้ Cyber board หรือ การสร้าง
Conferencing Space
การสร้างพื้นที่ในระบบเครือข่ายเพื่อการอภิปรายร่วมกัน
การเสนอประเด็น แนวคิด หรือการสื่อสารระหว่างกันทั้งนักศึกษาด้วยกันเองและกับอาจารย์
สามารถใช้ประโยชน์จากบริการอีกลักษณะหนึ่งบนระบบ Internet ได้ นั่นคือ
การสร้าง Cyber board หรือ Conferencing space ซึ่งมีการใช้ประโยชน์กันมากในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
โดยการสร้างขึ้นบน Home page ของรายวิชาเมื่อนักศึกษาและอาจารย์ต้องการอ่าน
หรือ เสนอประเด็นแนวคิด ข้อความใด ลงบนพื้นที่เพื่อการอภิปรายร่วมกันก็จะทำได้อย่างง่ายและสะดวก
ตัวอย่างการใช้งานลักษณะนี้ดูได้ที่ http://202.44.194.10/wcgi/sboard.exe ซึ่งเป็นพื้นที่การอภิปรายของกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(Computer Science Department, 1997) ถ้ามีโอกาสควรเข้าไปศึกษาดูในรายละเอียด
เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองได้
Internet กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า World Wide Web (WWW) หรือนิยมเรียกกันว่า Home
page นั้น มีประโยชน์มากมายต่อการนำเสนอข้อมูลในระบบ
Internet เพราะนอกจากการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในลักษณะข้อความ
ภาพนิ่ง เสียง และ ภาพเคลื่อนไหวได้แล้ว ยังสามารถสร้างให้มี Interaction กับผู้ใช้ได้ด้วย เช่น การช่วยสืบค้น (Search) การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI) การดูแฟ้มนำเสนอของ Power Point และการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
เป็นต้น ดังนั้น การสร้างโฮมเพจรายวิชา (Subject Home page) จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะใช้ประโยชน์
จากเครือข่ายเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยได้ เพราะจะเป็นกิจกรรมที่เสริมการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในโฮมเพจรายวิชา ควรมีโครงสร้างที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา
จากตัวอย่างของโฮมเพจรายวิชาของมหาวิทยาลัยในประเทศ (สุรศักดิ์,2540;
Wachirawut & Sumonta,1997) สามารถสรุปหัวข้อที่ควรมีในโอมเพจรายวิชาได้ดังนี้
*
ข้อมูลรายวิชา
n รหัสวิชา ชื่อวิชา
n ภาคเรียนที่ …… ปีการศึกษา
…….
· ข้อมูลผู้สอน
n ชื่อผู้สอน
n ห้องทำงาน, โทรศัพท์, Email address
n วัน,เวลาที่นักศึกษาเข้าพบได้
· รายละเอียดกิจกรรมของวิชา
n คำอธิบายรายวิชา
n จุดประสงค์ของวิชา
n เอกสารประกอบการศึกษา
n การวัดผลและประเมินผลของวิชา
n ตารางเรียนตลอดภาคเรียน
*
สัปดาห์ที่ วันที่
*
หัวข้อเนื้อหา
*
รายละเอียดเนื้อหา (
slide show, เอกสาร pdf หรือ เอกสาร
html format)
*
งานที่มอบหมาย หรือ การบ้าน
· พื้นที่การอภิปราย
(Cyber board หรือ Conferencing space)
·การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลใน
Internet (Search tools)
นอกจากนี้อาจารย์แต่ละวิชาสามารถเพิ่มเติมอย่างอื่นที่เหมาะสมกับลักษณะของรายวิชาได้อีก
เช่น พื้นที่นำเสนอผลงานการเขียนรายงานหรือบทความจากการค้นคว้าของนักศึกษา ที่ควรเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ด้วย เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะของนักวิชาการให้นักศึกษาที่มีบทบาทต่อการเผยแพร่วิทยาการสู่สังคม
เมื่อนำโฮมเพจรายวิชามาใช้เสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ
กิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนจึงน่าจะต้องเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างจากเดิมที่เน้นการบรรยายของอาจารย์เป็นหลัก
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน นั่นคือนักศึกษาจะต้องศึกษาจากเอกสารรายละเอียดเนื้อหาที่อาจารย์เตรียมไว้ในโฮมเพจรายวิชา
หรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตามเอกสารประกอบการศึกษาที่ทำ Link ไว้ให้มาล่วงหน้า เมื่อถึงชั่วโมงเรียนนักศึกษาและอาจารย์มาพบกันเพื่ออภิปราย
เสนอแนวคิด หรือซักถามประเด็นปัญหาที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสคิดวิเคราะห์
และเสนอความคิดตามประเด็นปัญหาต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในชั้นเรียนเพื่อการบรรยายให้ความรู้
วิธีการนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในตนเองมากขึ้น
ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น และที่สำคัญมีโอกาสได้คิดวิเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์และแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม
ซึ่งการสอนแบบบรรยายไม่สามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้เนื่องจากเวลาจำกัดและต้องใช้ไปในการบรรยายเนื้อหาเสียส่วนใหญ่
การเตรียมความพร้อมเพื่อการใช้ Internet ในการเรียนการสอน
การใช้ Internet เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จได้นั้น
ขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย บุคคล ระบบเครือข่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสนับสนุนการใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งแสดงได้ดังภาพที่
1
ภาพที่ 1 องค์ประกอบของการใช้ Internet เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
การเตรียมพร้อมด้านบุคคล
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำ Internet มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ อาจารย์
และ นักศึกษา ในส่วนของเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การนำ
Internet มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะช่วยพัฒนาติดตั้งและบำรุงรักษาทั้งระบบเครือข่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสนับสนุนการใช้ Internet ในการเรียนการสอน
ได้แก่ การติดตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในแต่ละคณะ การดูแลระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
ดูแล Server ที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการระบบ
Email, Listservers, และ Web servers รวมถึงการพัฒนา
Authoring System สำหรับการสร้างโฮมเพจรายวิชา จึงถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยให้การใช้
Internet มีความเป็นไปได้หรือไม่
ในส่วนของอาจารย์ต้องพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยเฉพาะการใช้
Email และ WWW รวมถึงความสามารถในการสร้าง
Homepage ด้วย ถ้าอาจารย์ท่านใดมีความสามารถที่จะสร้างเองได้จากโปรแกรมช่วยพัฒนาที่มีอยู่แล้วเช่น
Frontpage, Netscape, GNN และอื่นๆ ก็ทำด้วยตนเอง สำหรับอาจารย์ส่วนใหญ่ที่ไม่มีความรู้ทางด้านการใช้
Web Edit Application เหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยควรพัฒนา
Authoring System สำหรับการสร้างโฮมเพจรายวิชาที่เป็นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยเฉพาะขึ้นมา
นอกจากพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว อาจารย์จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงลักษณะการจัดการเรียนการสอนจากเดิมที่ใช้การบรรยายเป็นหลัก
มาเป็นเทคนิคการสอนที่ใช้ Internet ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมค่อนข้างมาก
คือ การเตรียมการสอนต้องเตรียมเอกสารประกอบการสอนเพื่อนำลงไว้ในโฮมเพจรายวิชา การสืบค้นแหล่งข้อมูลบน
Internet เพื่อที่จะทำ Link หรือแนะนำให้นักศึกษาเข้าไปศึกษาค้นคว้า
การจัดกิจกรรมในชั่วโมงเรียนที่เน้นการอภิปรายหรือการสัมมนาแทนการบรรยายเนื้อหาวิชา
การใช้ Email ในการถามตอบปัญหาและการรับ-ส่งงานของนักศึกษา การเข้าไปใน
Cyber board เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นกับนักศึกษา และประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาจากการร่วมแสดงความเห็นใน
Cyber board ของรายวิชา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปเทคนิคการสอนกันใหม่
ให้เหมาะสมกับยุคสมัยของเทคโนโลยี คงต้องอาศัยการทดลอง ศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบ
หรือเทคนิคการสอนโดยใช้ Internet ในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อไป
ในส่วนของนักศึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง
วิชาหนึ่งที่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในหลักสูตรต่างๆ คือ วิชาการศึกษาค้นคว้า ที่แตกต่างไปจากลักษณะวิชาเดิม
คือเน้นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
การพิมพ์เอกสาร การสืบค้นหนังสือในห้องสมุดด้วยระบบออนไลน์ (OPAC) การสืบค้นฐานข้อมูล CD-ROM การใช้ Email และ WWW นักศึกษาชั้นปีที่
1 ภาคการศึกษาที่ 1 ควรจะต้องเรียนวิชานี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น
ๆ ต่อไป
โปรแกรมสนับสนุน
การใช้ Internet ในการเรียนการสอนต้องมีโปรแกรมที่จำเป็น
ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้ง โปรแกรมด้าน Email โปรแกรมการพัฒนาโฮมเพจรายวิชา
โปรแกรมการสร้างสื่ออีเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาลงในโฮมเพจรายวิชา ทั้งภาพ เสียง และสื่อมัลติมีเดีย
ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนในระยะเริ่มต้นคือ การพัฒนาโปรแกรมช่วยสร้างโฮมเพจรายวิชา
(Authoring System for Subject Homepage Development) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากโปรแกรมสร้าง
Web page ทั่ว ๆ ไป แนวทางการพัฒนา Authoring System นี้ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลหลายกลุ่มร่วมมือกันพัฒนาตั้งแต่ ผู้ออกแบบระบบ โปรแกรมเมอร์
นักการศึกษา ผู้ออกแบบด้านกราฟฟิก ผู้ออกแบบด้านมัลติมีเดีย กลุ่มบุคคลเหล่านี้มีอยู่แล้วในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
และอาจารย์ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถ ที่อยู่ในคณะและหน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายท่าน
บุคคลเหล่านี้มีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนา Authoring System ได้ถ้ามีการสร้างทีมพัฒนาอย่างเป็นระบบ
ซึ่งขึ้นอยู่กับการสนับสนุน ของมหาวิทยาลัย ว่ามีความตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ระบบเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มีความพร้อมในสองปัจจัยนี้ ในระดับที่สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้แล้ว จะมีปัญหาก็เพียงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในระดับคณะที่ยังอยู่ในแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหลักของมหาวิทยาลัย
ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการตามแผนได้ ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในฐานะผู้รับผิดชอบการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายภายใน ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเครือข่ายในระดับที่ใช้งานได้จริงแล้ว
และมีแผนที่จะพัฒนาเพื่อให้เต็มรูปแบบต่อไป เพื่อสนองตอบความต้องการการใช้ Internet เพื่อการเรียนการสอนและการบริหารของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้
ระบบเครือข่ายในปัจจุบันก็เพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ในระดับหนึ่ง
ความเป็นไปได้ในการนำ Internet มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความร่วมมือกันของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
การพัฒนาการใช้ Internet ในการเรียนการสอนที่ผ่านมาอยู่ในลักษณะที่ต่างคนต่างทำ
จึงมีใช้เพียงในกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเท่านั้น ขาดการเผยแพร่และพัฒนาอาจารย์ส่วนใหญ่ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ชัดเจน
เนื่องจากไม่มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ที่ชัดเจน
โครงการนี้ต้องการความช่วยเหลือและร่วมมือกันจากอาจารย์และบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การเตรียมความพร้อมและประสานงานกันที่ดีทั้งด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ระบบเครือข่าย ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสนับสนุนในการใช้
Internet เพื่อการเรียนการสอน รวมถึงนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย
จะทำให้ความมุ่งหวังในการใช้ Internet เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมีความเป็นไปได้และประสบความสำเร็จได้
บรรณานุกรม
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. ระบบสื่อการสอน. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรุงเทพฯ
: 2521.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. เทคโนโลยีการสอน : การออกแบบและพัฒนา.
กรุงเทพฯ :โอเอสปริ้นติ้งเฮ้าส์,
2531.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, 2531.
สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข. การใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ : พีระพัชนา, 2525.
วรกิต วัดเข้าหลาม. การผลิตและการใช้วัสดุประกอบการสอน. ขอนแก่น
: โครงการผลิตวัสดุการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
2530.
วิชัย
วงษ์ใหญ่.
2539. กระบวนทัศน์ใหม่ในนวัตกรรมหลักสูตร. ข่าวสารกองบริการการศึกษา
7 (มีนาคม-เมษายน 2539). ทบวงมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ หน้า 27-30.
สุรศักดิ์
สงวนพงษ์,
ปรีดา เลิศพงศ์วิภูษณะ. 2540. 204325 การสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น http://www.cpe.ku.ac.th/~nguan/204325/index-th.html
Computer Science Department, Science Faculty , Khonkaen University.
1997. http://sci.kku.ac.th
Heinich
Robert} michael Molenda and James D. Russell. Instructional Media and
the New
Technologies of Instruction.
2nd ed. New York
: John Wiley and Sons, 1985.
Karen
Petitto. 1997. AAHESGIT231: Registrar's
ListserversEmail: petitto@wvwc.edu American Association for Higher Education
<aahesgit@list.cren.net> 30 Nov 1997 21:56:53 -0400
Wachirawut Tamviset & Sumonta Kasemvilas
.1997. 320 101 : Microcomputer and Application
http://www-free.sc.kku.ac.th/members/microapp/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น